สายพาน เป็นอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่ใช้ในการถ่ายทอดกำลังจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยเป็นการส่งกำลังแบบอ่อนตัวได้ ซึ่งมีราคาถูกและใช้งานง่ายซึ่งหากเทียบกับ เฟืองหรือโซ่
แต่สายพานนอกจากมีราคาคาถูกใช้งานง่ายแล้ว ยังสามารถรับแรงกระตุกและแรงสั่นสะเทือนได้ดี ขณะใช้งานก็ไม่มีเสียงดัง เหมาะกับการส่งกำลังที่เพลาอยู่ห่างกันค่อนข้างมาก มีค่าในการบำรุงรักษาต่ำ นิยมใช้งานเกี่ยวกับโรงงานอุตสาหกรรม, เครื่องจักรกล, เครื่องยนต์, เครื่องมือการเกษตร ฯลฯ
ชนิดของสายพาน แบ่งออกได้ 4 ชนิด ได้แก่
สายพานแบน (FLAT BELT) มีลักษณะหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งแบ่งออกเป็น
      - สายพานแบบหุ้มตัว โดยใช้เส้นใยทอเป็นแถบห่อแผ่นยางสลับกัน โดยใช้กาวยึดติด เวลาใช้งานต้องต่อปลาย ทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน โดยตัวสายพานถูกห่อไว้โดยรอบเพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงของความชื้นและอุณหภูมิแวดล้อม เนื่องจากการเสียดสีระหว่างสายพานกับผิวล้อมู่เล่ย์
      - สายพานแบนแบบชั้น เป็นการนำเส้นเชือกที่มีขนาดต่างกันและต่างชนิดมาขดเป็นวงเรียงกัน และยึดติดกันต่อกัน มาแต่และวงเพื่อผนึกกันเป็นชั้นๆ ด้วยกาวยาง สายพานแบบนี้จะสร้างเป็นวงสำเร็จไม่มีรอยต่อ จะมีความยาวตามขนาดที่ระบุจากโรงงานผลิต ซึ่งแบบนี้ไม่เหมาะที่จะใช้กับมู่เล่ย์
สายพานร่องวี (V-BELT) มีลักษณะ เป็นสายพานลิ่มมีรูปหน้าที่ตัดเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู ด้านข้างๆทั้งสองด้าน เอียงสอบเข้าหากัน มุม 38 ถึง 44 องศา โดยทั่วไปจะใช้กับเครื่องจักรกลตามโรงงาน ลักษณะการใช้งานคล้ายสายพานแบน สามารถส่งกำลังได้ในตำแหน่งต่าง ๆ แต่ไม่สามารถส่งกำลังแบบไขว้ได้เหมือนกับสายพานแบน ใช้กับงานเช่น งานกลึง หรือสายพานรถไถนาเดินตาม เป็นต้น
สายพานกลม (ROPES BELT) มีลักษณะหน้าตัดเป็นรูปวงกลม คล้ายโอริง ทำจากยางหรือหนังสัตว์ การส่งกำลังต่ำ สายพานชนิดนี้จะให้ความยืดหยุ่นสูงมาก และสามารถปรับตั้งทิศทางการหมุนได้หลายทิศทางตามความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น จักรเย็บผ้า เครื่องเจียระไนพลอย เป็นต้น
สายพานไทมมิ่ง (TIMING BELT) มีลัษณะหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู และจะมีฟันยาวตลอดของสายพาน ซึ่งตัวฟันเฟืองนี้จะเข้ากันพอดีกับมู่เล่ย์ที่รับที่มีขนาดเดียวกัน จะขบกันเหมือนฟัน จึงไม่เกิดการลื่นไถลขณะส่งกำลัง สายพานชนิดนี้สามารถงอตัวได้ดี โดยส่วนมากใช้กับเครื่องยนต์ ซึ่งอาจเรียกอีกอย่างว่า สายพานราวลิ้น และสายพานตัวนี้จะทำหน้าที่ขับเคลื่อนการหมุนเพลาข้อเหวี่ยงไปยังเพลาราวลิ้น เพื่อทำหน้าที่ในการเปิด-ปิดวาล์วไอดี-ไอเสีย ในระบบของเครื่องยนต์นั่นเอง