การเรียกขนาดของสกรูนอต โดยสากล จะเรียกความโตของลำตัว และตามด้วยความยาวของลำตัว (ไม่นิยมเรียกความโตของหัวสกรู) ซึ่งมีหน่วยในการเรียกอยู่ 2 ประเภท

คือ แบบมิล (Metric)เมตริก และ แบบหุน (Inches) หรือแบบนิ้วนั่นเอง โดยเราสามารถจำแนกขนาดของนิ้วออกมาได้ดังนี้

1/8         เรียกว่า   1 หุน
3/16       เรียกว่า   หุนครึ่ง
¼           เรียกว่า   2 หุน
3/16       เรียกว่า   2 หุนครึ่ง
3/8         เรียกว่า   3 หุน
5/16       เรียกว่า   3 หุนครึ่ง
½           เรียกว่า   4 หุน
9/16       เรียกว่า   4 หุนครึ่ง
5/8         เรียกว่า   5 หุน
11/16     เรียกว่า   5 หุนครึ่ง
¾           เรียกว่า   6 หุน
13/16     เรียกว่า   6 หุนครึ่ง
7/8         เรียกว่า   7 หุน
15/16     เรียกว่า   7 หุนครึ่ง
1”           เรียกว่า   1 นิ้ว   ****เท่ากับ 1 นิ้ว มี 8 หุน

เทียบขนาดอย่างง่าย
1 นิ้ว เท่ากับ 25.4มิล
1 หุน เท่ากับ 3.175มิล ( ได้จากการนำ 25.4 หารด้วย 8 )

แบบมิล
Pitch คืออะไร
Pitch อ่านว่า "พิทซ์" ซึ่งหมายถึง ระยะห่างระหว่างเกลียว โดยวัดจากยอดฟันของเกลียว ซึ่งระยะพิทซ์ของระบบเกลียว แบ่งออก เป็น เกลียวหุน และ เกลียวมิล แม้จะดูว่าขนาดใกล้เคียงกันมา แต่ไม่สามารถใช้แทนกันได้ ซึ่งเรามีวิธี การวัดโดยการใช้เครื่องมือวัด หรือที่เรียกว่า “หวีวัดเกลียว” ในการวัด และอีกวิธีที่ง่ายๆคือ การลองนำ นอต (หัวนอตตัวเมีย) มาขันดูก็จะทราบได้โดยง่าย นอกจากนี้ เกลียวยังแบ่งออก เป็นเกลียวหยาบ และเกลียวละเอียด ซึ่งเกลียวหยาบนั้น จะมี พิทซ์ หรือ ระยะห่างเกลียว มากกว่า เกลียวละเอียด

ตัวอย่างคำนวณ ระยะพิทซ์
ถ้าสกรู ยาว 100มิล และมีพิทซ์ของเกลียว 2.5มิล ให้นำ 100หาร 2.5 จะได้เท่ากับ 40 ซึ่งหมายถึงจำนวนเกลียวทั้งหมดของสกรูตัวนี้ถ้า ยาว 100มิล และมีพิทซ์ของเกลียว 1.5มิล เมื่อนำ 100 หาร 1.5 จะได้เท่ากับ 66.67 ซึ่งเท่ากับ สกรูตัวนี้ มีทั้งหมด 66 เกลียว ซึ่งแปลว่า ละเอียดกว่าคะ

แบบหุน
แบบหุนนั้นไม่สามารถวัดแบบพิทซ์ (Pitch)ได้ โดย มีตัวที่นิยม หลัก ๆ 3 ชนิด ได้แก่
1. UNC (Unified National Coarse) เรียกสั้น ๆ ว่า เกลียว NC เป็นเกลียวมาตรฐานของอเมริกา
2. UNF (Unified National Fine) เรียกสั้น ๆ เกลียว NF เป็นเกลียวมาตรฐานของอเมริกา
3. BSW (British Standard Whitworth) เรียกว่า BSW เป็นเกลียวมาตรฐานของอังกฤษโดยที่ UNC กับ BSW เป็นเกลียวหยาบ ส่วน UNF เป็นเกลียวละเอียด